ข้อมูลสภาพทั่วไป

ข้อมูลพื้นฐานของตำบลโชคชัย

ที่ตั้ง
ตำบลโชคชัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดมุกดาหาร หรือทางทิศตะวันตกของอำเภอนิคมคำสร้อย  ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร  37  กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากอำเภอนิคมคำสร้อยประมาณ 4 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่  129 – 133  ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 สายมุกดาหาร– อุบลราชธานี(ถนนชยางกูร) ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญเชื่อมในการสัญจรไปมา
ภูมิประเทศ
ตำบลโชคชัยตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงเป็นส่วนใหญ่  โดยมีภูเขาล้อมรอบด้านทิศเหนือ ทิศใต้และทิศตะวันตก  มีลักษณะเป็นป่าไม้และภูเขา และมี
อาณาเขตติด ต่อกับพื้นที่อื่นดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ จรดกับเขตตำบลกกแดง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ จรดกับเขตตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออกจรดกับเขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันตกจรดกับเขตตำบลร่มเกล้า อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
เนื้อที่
ตำบลโชคชัยมีเนื้อที่ประมาณ 21,036 ไร่ คิดเป็น  33.65  ตารางกิโลเมตร
ประชากร

ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย  ประกอบด้วยคนหลายเชื้อสาย  ได้แก่ เผ่าภูไท เผ่าข่าเลิง เผ่าลาวพวน และเผ่าอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะอพยพมาจากทางจังหวัดอุบลราชธานีมาตั้งรกรากสร้างถิ่นฐานมาเกือบร้อยปี  ปัจจุบันมีคนอพยพมาจากหลายท้องถิ่นเข้ามาค้าขายและประกอบอาชีพทางการเกษตร จึงทำให้ประชากรมีความหลากหลายในการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่  ทั้งสิ้น  3,681คน  แยกเป็นชาย  1,871คน  หญิง  1,810คน

สภาพทางสังคม

                                                                  สภาพทางสังคม
การศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย มีสถานศึกษา/แหล่งที่ให้ความรู้กับเด็กนักเรียน นักศึกษา จำนวน  แห่ง  ดังนี้
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดอรัญญวาสี ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 เปิดสอนเด็กก่อนเกณฑ์
2. โรงเรียนชุมชนบ้านหนองแวงน้อย ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 เปิดสอนระดับช่วงชั้นที่ 1-2
3.โรงเรียนบ้านคำบง1 ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 เปิดสอนระดับช่วงชั้นที่ 1-2
4.โรงเรียนบ้านคำพอก 2ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 เปิดสอนระดับช่วงชั้นที่ 1-2
5.โรงเรียนโชคชัยวิทยา ตั้งอยู่หมู่ที่ 5  เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
6.โรงเรียนอาชีวะศึกษา วิทยาลัยการอาชีพนิคมคำสร้อย ตั้งอยู่หมู่ 1  เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
7.ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบล  ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย

สถาบันและองค์กรทางศาสนา
–  วัด  จำนวน11 แห่ง
–  สำนักสงฆ์   จำนวน  2  แห่ง
– โบสถ์คริสต์ จำนวน3 แห่ง
สาธารณสุข
มีหน่วยพยาบาลที่ให้บริการประชาชนในเรื่องของการรักษาพยาบาล  จำนวน 1  แห่ง คือ
–  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหนองหลี่ เป็นโรงพยาบาลของรัฐขนาดเล็ก
–  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
–   สถานีตำรวจ           – แห่ง
–   ที่พักสายตรวจ        1 แห่ง
–  ตู้ยามตำรวจทางหลวง 1 แห่ง
การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม

-ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านสายบ้านชัยมงคล – หนองลำดวน เป็นถนนลาดยางระยะทาง  7  กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท มีสภาพบางส่วนชำรุด เป็นหลุมเป็นบ่อ
-ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านบ้านชัยมงคล (ภูฮาบ) – ภูหมู – ภูโล้น – บ้านคำพอก เป็นถนนดิน ระยะทาง 7 กิโลเมตร เดิมเป็นถนนของกรมพัฒนาที่ดิน ปัจจุบันอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัยและยังไม่ได้ดำเนินการปรับปรุงให้ใช้การได้ดี กำลังอยู่ในระหว่างการสำรวจ
-ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านบ้านหนองแวงเหนือ – บ้านคำบง เป็นถนนลูกรัง ระยะทาง 4 กิโลเมตร เดิมเป็นของกรมประชาสงเคราะห์  ปัจจุบันอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัยและได้ดำเนินการปรับปรุงให้ใช้การได้ดี
-ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านบ้านหนองหลี่ – บ้านหนองลาด ตำบลกกแดง  เป็นถนนลูกรัง ระยะทาง 4 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างเขตตำบลโชคชัยและตำบลกกแดง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร
-ถนนไปแหล่งเกษตรอีกหลายสายประมาณร้อยละ 80 เป็นถนนดิน
การท่องเที่ยว 
องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย เป็นที่ตั้งของวัดพุทโธธัมมะธะโร (วัดภูดานแต้)ซึ่งทุกปีจะมีประเพณีสำคัญ ๆ  เช่น  ประเพณีวันสงกรานต์  ประเพณีวันลอยกระทง  และประเพณีงานบุญต่าง ๆ จะมีคนมาเที่ยวชมพอสมควร สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีน้ำตกสายธาร จุดชมวิวที่ภูกิ่ว (ภูแก่นล่อน) และสถานที่ชมทิวทัศน์อันงดงามบนวนอุทยานแห่งชาติภูหมู  นอกจากนี้  องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ยังเป็นทางผ่านไปยังปูชนียสถานวัดผาน้ำย้อย (วัดผาน้ำทิพย์)  อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยใช้เส้นทางสายแยกบ้านชัยมงคล – บ้านหนองนกเขียน  ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร
บัดนี้ ถนนสายดังกล่าวได้รับการปรับปรุงให้เป็นถนนลาดยางตลอดสาย ทำให้ใช้การได้ดี  ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของทางหลวงชนบท
สภาพทางเศรษฐกิจ
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ราษฎรในตำบลโชคชัยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้แก่  ทำนาทำไร่  ทำสวนและรับจ้าง  เป็นต้น   สำหรับพืชที่เพาะปลูก ได้แก่  ข้าว  ยางพารา  อ้อย  มันสำปะหลัง  ฟัก  ฟักทอง  มะเขือเทศ  แตงโมและพืชผักสวนครัวอื่น ๆ  ในด้านปศุสัตว์นั้นมีการเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายเป็นรายให้แก่ครอบครัวได้แก่  ไก่  เป็ด  โค  กระบือและปลา  เป็นต้น  นอกจากนี้  ยังมีการรวมกลุ่มเพื่อทำหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นอาชีพเสริมหลังจากเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว   เช่น  กลุ่มสานตะกร้าด้วยเส้นพลาสติก  กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มทอผ้าฝ้ายและปลูกหม่อนเลี้ยงไหมซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของราษฎรในปัจจุบัน  เนื่องจากใช้เวลาน้อยแต่มีรายได้ดี

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
–  ปั๊มน้ำมันและก๊าซ   12 แห่ง
–  โรงสี 9 แห่ง

การโทรคมนาคม
–  ที่ทำการไปรษณีย์ประจำตำบล           1 แห่ง
–  จำนวนตู้โทรศัพท์สาธารณะ 10 แห่ง
–  จำนวนโทรศัพท์ประจำบ้าน 59  เลขหมาย / ครัวเรือน
–  หอกระจายข่าว / เสียงตามสาย           9 สถานี
–  สถานีวิทยุชุมชน           1 แห่ง
นอกจากนั้นยังติดต่อสื่อสารโดยวิทยุและโทรศัพท์ส่วนบุคคล (มือถือ)
 
การไฟฟ้า  
–  มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน ส่วนครอบครัวที่ย้ายออกไปจากหมู่บ้านเดิมไม่มีไฟฟ้าใช้  ซึ่งก็มีเป็นส่วนน้อย

แหล่งน้ำธรรมชาติ
–   ลำน้ำ,ลำห้วย   8 สาย
–   บึง,หนองและอื่น ๆ 12 แห่ง
 
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
–  ฝายขนาดเล็ก    8 แห่ง
–  บ่อน้ำตื้น          48 แห่ง
–  บ่อโยก          17 แห่ง
–  ประปาหมู่บ้าน            8 แห่ง
mungmee

Share: